กรณีบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย ตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่ 1213/2561 ลงวันที่ 7 กันยายน 2561 กระทบต่อผู้เอาประกันภัยอย่างไร? และสำนักงาน คปภ. มีแนวทางการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างไร? กรณีซ่อมรถไปแล้วทางอู่ให้สำรองจ่ายไปก่อน มีขั้นตอนและวิธีการอย่างไรจึงจะได้เงินคืนมาดูคำตอบกันครับ
แนวทางการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยและประชาชนมี ดังนี้
- กรณีกรมธรรม์ที่ยังไม่มีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเกิดขึ้นและกรมธรรม์ประกันภัยยังไม่หมดอายุ บริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ จะเข้ารับช่วงและให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยที่เข้ามาติดต่อบริษัท โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้เอาประกันภัยจะต้องทำสัญญาประกันภัยประเภทและชนิดเดียวกันนั้นกับบริษัทต่อไป โดยผู้เอาประกันภัยจะได้รับการขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมตามระยะเวลาที่ยังคงเหลืออยู่จากกรมธรรม์เดิม โดยไม่มีการคิดเบี้ยประกันภัยเพิ่ม แต่ต้องโอนสิทธิที่จะได้รับเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่เหลือจากกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัทที่รับโอนกรมธรรม์ประกันภัยนั้นด้วย
- กรณีที่กรมธรรม์มีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว การเรียกร้องค่าเสียหายนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยผู้ชำระบัญชีของบริษัทที่รัฐมนตรีมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต โดยสำนักงาน คปภ. ในทุกพื้นที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนเป็นเบื้องต้น
- บริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยและผู้มีสิทธิเรียกร้องตากรมธรรม์ประกันภัย จำนวน 26 บริษัท ประกอบด้วยบริษัทใดบ้าง?
>> ดาวน์โหลด รายชื่อบริษัทประกันภัยจำนวน 26 บริษัท พร้อมช่องทางการติดต่อ
สำหรับผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของ บมจ.เจ้าพระยาประกันภัย
ให้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบมจ.เจ้าพระยาประกันภัยภายใน 60 วันนับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยกำหนดในประกาศโดยจะนำหลักทรัพย์ประกันและเงินสำรองประกันภัยของบริษัทที่วางไว้กับนายทะเบียนมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ที่ไม่มีข้อโต้แย้ง และกองทุนประกันวินาศภัยจะนำเงินของกองทุนประกันวินาศภัยมาจ่ายส่วนที่ขาด (รวมแล้วไม่เกินหนึ่งล้านบาทต่อราย) ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กองทุนกำหนด
กรณีเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้ าหนี้ตามสัญญาประกันภัย
โดยให้นำเอกสารต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 2 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ดังนี้
- กรมธรรม์ประกันภัย
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบเคลม
- ใบนัดชำระหนี้ หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงถึงมูลหนี้
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)
สถานที่ที่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ มีดังต่อไปนี้ ส่วนกลาง ยื่นได้ 3 แห่ง ดังนี้
- กองทุนประกันวินาศภัย อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ชั้น 15
เลขที่ 1010 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2791-1444 ต่อ 11-15 และ 21-24 - สำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ
เลขที่ 287 ซอยรัชดาภิเษก 6 ถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2476-9940-3 - สำนักงาน คปภ. เขตบางนา
เลขที่ 1/16 อาคารบางนาธานี ชั้น 8 ถนนบางนาตราด กม.3 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2361-3769-70 - ต่างจังหวัด สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้ที่สำนักงาน คปภ. ภาค และสำนักงาน คปภ. จังหวัด ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ เจ้าหนี้สามารถดาวน์โหลดแบบคำทวงหนี้ได้ที่ www.gif.or.th หัวข้อแบบฟอร์ม
หมายเหตุ สามารถสอบถามเพิ่มเติมที่หมายเลขสายด่วนสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) กระทรวงการคลัง 1186
ที่มา :: คปภ. www.oic.or.th