สรุปสาระสำคัญคือ การปรับเพิ่มอัตราค่าชดเชยให้กับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ได้ค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 400 วัน จากเดิมคือ 300 วัน
ในขณะเดียวกัน สำหรับลูกจ้างที่อายุงานไม่ถึง 20 ปี อัตราชดเชยเลิกจ้างงานยังคงเป็นอัตราเดิม คือ
ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน
ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วัน
ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 180 วัน
ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 240 วัน
ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 10ปี ขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 300 วัน
สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่กำลังจะเป็นคุณแม่ ร่างกฎหมายใหม่นี้ก็ได้มีการเพิ่มวันลาคลอดให้ด้วย โดยจากเดิมที่สามารถลาคลอดได้ 90 วัน เป็น 98 วัน ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างระหว่างลา 45 วัน และอีก 45 วันได้รับจากกองทุนประกันสังคม
ทั้งนี้ 8 วันที่ได้ลาเพิ่ม นายจ้างและลูกจ้างอาจพิจารณาและตกลงกันเพื่อจ่ายค่าจ้างหรือไม่ก็ได้ และนับรวมไปกับวันตรวจครรภ์ก่อนคลอด วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี และวันลาพักร้อนประจำปีด้วย โดยแก้ไขร่างพ.ร.บ. ดังกล่าวนั้น คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปลาย ม.ค. 62 เป็นต้นไป
ข้อมูลจาก :: www.posttoday.com
Comments are closed.