4 โรค ห้ามขับรถตามลำพัง! และข้อควรปฏิบัติในการขับรถสำหรับผู้มีโรคประจำตัว

4 โรค ห้ามขับรถตามลำพัง! และข้อควรปฏิบัติในการขับรถสำหรับผู้มีโรคประจำตัว

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย(มท.) แนะปัญหาด้านสุขภาพและโรคประจำตัวบางโรค ส่งผลต่อสมรรถนะในการขับรถ เพื่อความปลอดภัยปภ.แนะ 4 โรคห้ามขับรถตามลำพังได้แก่

4 โรค ห้ามขับรถตามลำพัง
1.โรคหัวใจ
ที่อาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
2.โรคเบาหวาน โดยเฉพาะคนที่ต้องฉีดอินซูลีน เพราะหากน้ำตาลในเลือดต่ำอาจหมดสติ
3.โรคลมชัก ที่กินยาควบคุมอาการไม่ได้ เพราะในระหว่างทางหากเกิดอาการอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
4.ผู้ที่เคยผ่าตัดสมอง อาจส่งผลต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ทำให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับรถ

7 ข้อควรปฏิบัติในการขับรถสำหรับผู้มีโรคประจำตัว
1.ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความพร้อมของร่างกายก่อนการขับรถ เพื่อพิจารณาว่าพร้อมในการขับรถหรือไม่? หากแพทย์ไม่อนุญาตก็ไม่ควรขับรถโดยเด็ดขาด
2.ควรนำยารักษาโรคและบัตรประจำตัวผู้ป่วยติดตัวไว้เสมอ พร้อมมีรายละเอียดระบุอาการของโรค วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง และสิ่งที่ไม่ควรทำขณะทำการช่วยเหลือตอนที่มีอาการกำเริบ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาช่วยเหลือ ช่วยได้ถูกวิธี
3.ไม่ควรทานยาในช่วงก่อนการขับรถ เพราะอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน และประสิทธิภาพในการขับรถลดลง
4.ไม่ควรขับรถตามลำพัง ควรมีเพื่อนร่วมทางไปด้วยเสมอ เพราะหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน โรคประจำตัวกำเริบ เพื่อนที่นั่งมาด้วยจะได้ช่วยเหลือได้ทันท่วงที
5.ควรหลีกเลี่ยงการขับรถเพียงลำพัง และหันไปใช้บริการสาธารณะแทน หากเกิดอาการในระหว่างนั้นผู้ร่วมทางจะได้ช่วยเหลือได้ทัน
6.ไม่ควรขับรถระยะทางไกลๆ ติดกันเป็นเวลานาน เพราะร่างกายอาจรับไม่ไหว อาการของโรคอาจกำเริบได้
7.หลีกเลี่ยงการขับรถในเส้นทางที่มีสภาพการจราจรติดขัด เพราะในระหว่างนั้นส่งผลให้เกิดความเครียดและอาจทำให้โรคกำเริบได้

ทั้งนี้ทักษะในการขับรถจำเป็นต้องใช้ความสัมพันธ์ทุกส่วนของร่างกาย หากมีโรคประจำตัวร้ายแรงควรหลีกเลี่ยงการขับรถจะดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองและผู้ร่วมใช้ถนนนะครับ

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

Comments are closed.