ดีเดย์บังคับใช้กติกาใหม่ การจ่ายค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน ประเด็นเรื่อง “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” เป็นที่ถกเถียงกันมานานเนื่องจากแต่ละบริษัทประกันภัย พิจารณาจ่ายตามความเหมาะสมไม่เท่ากัน และบริษัทประกันภัยก็มักจะไม่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยรู้ว่าสามารถเบิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ? คือ เงินชดเชยที่เราสามารถเรียกร้องได้จากบริษัทประกันรถของคู่กรณี หรือจากคู่กรณีที่เราประสบเหตุโดยที่เราจะเบิกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้เราต้องเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น ซึ่งจะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ด้วยการยื่นเรื่องพร้อมเอกสารไปยังบริษัทประกันภัยเพื่อรับค่าเดินทางระหว่างซ่อมรถ เพื่อไม่ให้เสียประโยชน์ที่เราควรจะได้รับในระหว่างเอารถเข้าซ่อม
ใครที่เคยนำรถไปจัดซ่อมที่ศูนย์หรืออู่รถหลายๆ วัน แล้วในระหว่างนั้นเราไม่มีรถใช้ระหว่างซ่อม ก็ต้องใช้บริการรถสาธารณะ เช่น taxi วินมอเตอร์ไซค์ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้นี่แหล่ะที่เรียกว่า “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” แต่จะใช้มาตราฐานไหนในการกำหนดว่าแต่ละกรณีบริษัทประกันภัยจะจ่ายให้ผู้เอาประกันภัยเท่าไหร่? ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนเรื่องร้องเรียนมากเป็นอันดับ 1
สำนักงานคปภ.และคณะจึงได้หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนกรณีการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ และได้ข้อสรุปเบื้องต้นโดยการ กำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
1.รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งกำหนดอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท
2.รถยนต์รับจ้างสาธารณะขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท
3.รถยนต์ขนาดเกินกว่า 7 ที่นั่งกำหนดอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท
ซึ่งขณะนี้สำนักงานคปภ.อยู่ระหว่างการยกร่างคำสั่งนายทะเบียน เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ และคาดว่าจะบังคับใช้ได้ในต้นปีหน้า เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน ซึ่งจะทำให้สามารถลดปัญหาข้อร้องเรียนในประเด็นดังกล่าวได้ ก็ต้องรอประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการอีกครั้งนะครับ
ข่าวจาก :: www.moneyandbanking.co.th
Comments are closed.