โรคมะเร็ง คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับต้นๆ

โรคมะเร็ง โรคที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับต้นๆ

ทำความรู้จัก โรคมะเร็ง โรคที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับต้นๆ

ทุกวันนี้ถ้าพูดถึง “โรคมะเร็ง” เรารู้กันดีว่าไม่ได้เป็นโรคที่ไกลตัวเราอีกต่อไป เพราะทุกปีโรคมะเร็งจะคร่าชีวิตผู้คนไปมากมายทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่คนใกล้ตัวเราและแนวโน้มก็มีอัตราความเสี่ยงเกิดโรคนี้กันอย่างต่อเนื่อง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักโรคมะเร็งกันมากขึ้นค่ะ

มะเร็ง เกิดจากเซลล์ผิดปกติในร่างกาย ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าปกติไม่สามารถควบคุมได้ และเซลล์ผิดปกติเหล่านี้สามารถแพร่กระจายและลุกลามไปตามส่วนต่างๆของร่างกายได้ ทำให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อ / อวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งถ้าเกิดอยู่ตามอวัยวะใดก็จะเรียกชื่อตามอวัยวะนั้น เช่น มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

โรคมะเร็งเกิดขึ้นได้อย่างไร?

สาเหตุยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด เนื่องจากมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งได้ มีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก แล้วมีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่อาจเสี่ยงทำให้เป็นโรคมะเร็ง

  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า การกินอาหารจำพวกไขมันหรือเนื้อแดงอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ การขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย การไม่กินผักหรือผลไม้ การกินปิ้งย่างเป็นประจำ
  • อารมณ์ความเครียด
  • มีการถ่ายทอดกันทางพันธุกรรม
  • การสูดดมสารพิษบางอย่างเป็นประจำ
  • ร่างกายอาจมีความเสี่ยงหรือได้รับโลหะหนัก จากการหายใจ อาหาร และ/หรือน้ำดื่ม เช่น สารปรอท
  • ติดเชื้อไวรัสบางชนิด อาทิ ไวรัสเอชไอวี (HIV) ไวรัสเอชพีวี (HPV)
  • การไม่ออกกำลังกายการทำให้เกิดความอ้วนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • การได้รับรังสีบางชนิด

มะเร็งมีแบบไหนบ้าง?

จากรายงานโรคมะเร็งมีมากกว่า 100 ชนิด ซึ่งโดยส่วนมากจะเรียกชื่อตามที่เซลล์มะเร็งอยู่ ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีความร้ายแรงแตกต่างกันไป โรคมะเร็งที่พบได้บ่อย เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งผิวหนัง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก มะเร็งสมอง เป็นต้น

ระยะของโรคมะเร็ง

  • ระยะที่ 0 เป็นระยะเริ่มต้น ที่อยู่บนชั้นของเซลล์ปกติแต่ยังไม่แทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อปกติ
  • ระยะที่ 1 3 เซลล์มะเร็งยังมีขนาดเล็ก ยังไม่มีการลุกลามไปที่อื่น
  • ระยะที่ 2 3 เซลล์มะเร็งเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีการลุกลามภายในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียงหรืออาจแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงกับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง
  • ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีการกระจายออกไปยังต่อมน้ำเหลืองอยู่ไกลจากอวัยวะที่เป็นมะเร็ง
  • ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆในร่างกายที่ไกลจากอวัยวะที่เป็นมะเร็ง
โรคมะเร็ง วิธีการรักษา

โรคมะเร็งมีวิธีการรักษาอย่างไร?

ปัจจุบันการรักษามีหลายวิธี ซึ่งแต่มะเร็งแต่ละชนิดอาจได้รับการรักษาร่วมกัน ขึ้นอยู่กับประเภทและตำแหน่งของโรค รวมไปถึงปัจจัยของผู้ป่วยเอง เช่น อายุ โรคแทรกซ้อน หรือเงื่อนไขทางการแพทย์อื่นๆ การรักษาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปัจจุบันจะประกอบด้วย

  • การผ่าตัด เพื่อกำจัดเนื้องอกส่วนที่ทำให้เกิดเซลล์มะเร็งออกจากส่วนนั้นๆ
  • การรักษาด้วยรังสี ด้วยการฉายแสงเพื่อลดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด ที่เรียกกันว่าการทำคีโม
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน ด้วยการใช้ยาเพื่อลดฮอร์โมนที่ส่งผลต่อเซลล์มะเร็ง เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง

สัญญาณเตือนอาจเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง

เพราะโรคมะเร็งหลายชนิดจะไม่สามารถแสดงอาการออกมาให้เห็นได้ชัด โดยจะเริ่มก่อตัวในร่างกายอย่างช้าๆ จนบางครั้งกว่าเราจะรู้ตัวก็เจอในระยะที่ไม่สามารถรักษาหายได้ ดังนั้นวิธีที่จะตรวจเจอได้เร็วคือ การหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอ เพราะหากเราตรวจเจอเร็วจะได้รีบทำการรักษา แล้วมีสัญญาณเตือนร่างกายอะไรบ้างที่เราควรสังเกตไปดูกันค่ะ

  • การเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่าย เช่น อุจจาระอาจเป็นสีดำ ปัสสาวะมีสีเลือด
  • กลืนอาหารลำบาก อาหารไม่ย่อย แน่น จุกเสียดท้องเป็นเวลานาน
  • ไอแหบเรื้อรังผิดปกติ มีเสมหะปนเลือด
  • สำหรับผู้หญิงมีเลือกหรือมีตกขาวที่ผิดปกติ
  • เป็นแผลเรื้อรังหายช้ากว่าปกติ เช่น หายช้ามากกว่า 1 เดือน
  • สังเกตเห็นไฝหรือหูดตามร่างกายโตเร็วผิดปกติ
  • มีก้อนบริเวณเต้านมหรือส่วนต่างๆของร่างกายแบบผิดปกติ
  • หูอื้อหรือมีเลือดกำเดาไหล

ทั้งนี้ 8 ข้อนี้เป็นเพียงการสังเกตอาการตัวเองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงเบื้องต้นเท่านั้น หากเราพบร่างกายมีอาการที่ผิดปกติหรือน่าสงสัยเราควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็ค เพราะอย่าลืมว่าโรคมะเร็งยิ่งเราตรวจเจอเร็วเท่าไหร่ โอกาสที่จะรักษาหายก็มีมากขึ้นเท่านั้นนะคะ

ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

การดูแลตัวเองเพื่อลดความเสียงต่อการเกิดโรคมะเร็ง

มีหลายปัจจัยที่เราสามารถลดความเสี่ยงได้ โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกิน เพราะอาหารเป็นปัจจัยหลักที่หล่อเลี้ยงร่างกายเรา หากเรากินผักผลไม้และของมีประโยชน์ โอกาสที่จะเกิดโรคมะเร็งก็จะน้อยลง ซึ่งเราควรดูแลตัวเองและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจส่งผลได้ เช่น

  • ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักและผลไม้ ลดอาหารพวกไขมันไม่ดี
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารแบบสุกๆดิบๆ เพราะอาจจมีพยาธิ
  • ควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติไม่อ้วนและไม่ผอมจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเชื้อรา เช่น พริกแห้ง กระเทียมที่ราขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ ปิ้ง ย่าง ทอดจนไหม้เกรียม เพราะอาหารที่เกรียมไหม้จะมีสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้
  • หลีกเลี่ยงการกินของหมัก ของดอง ของรมควัน อาหารใส่สี ใส่ดินปะสิว เช่น แฮม แหนม
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า การสูบบุหรี่

ในปัจจุบันหลายคนให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจกันมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงการเกิดโรคมะเร็งและโรคร้ายต่างๆ ตามคำกล่าวที่ว่า “การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” อีกหนึ่งอย่างที่เราสามารถป้องกันไว้ได้ คือ การทำประกันโรคมะเร็งไว้ เพราะหากโชคร้ายเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเราจะได้มีประกันเข้ามาช่วยรองรับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้นะคะ

ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล :
– สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
– ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
https://www.sanook.com/health/2601/

สนใจทำประกันมะเร็ง