รวมช่องทางการต่อภาษีรถยนต์ 2566
อย่างที่ว่ากันนะคะ ซื้อรถแล้วเป็นคนมีค่าขึ้นมาทันทีเลย แต่ ๆ ๆ…..มันเป็นค่าใช้จ่ายจ้า และค่าใช้จ่ายที่ลืมไม่ได้ ขาดต่อไม่ดี นั่นก็ คือ ภาษีรถยนต์ หรือที่ใครหลายคนเรียกว่า ป้ายวงกลม เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระทุกปี ตามกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ แล้วสงสัยกันไหมคะว่าทำไมเราต้องต่อภาษีทุกปีด้วย ? ก็เพราะว่า เงินภาษีที่เราจ่ายไปจะถูกนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเป็นการสนับสนุนถนนที่เราต้องใช้งานทุกวัน ดังนั้นการต่อภาษีจึงถือว่ามีความสำคัญอย่างมากค่ะ แล้วอย่างนี้จะมีช่องทางไหนบ้างที่อำนวยความสะดวกในการต่อภาษีให้กับเรา วันนี้น้องกันจะพาไปทำความรู้จัก กับช่องทางการต่อภาษีรถยนต์ ว่ามีกี่ช่องทาง มีที่ไหนบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
แต่ ๆ ๆ เดี๋ยวก่อนนะคะ ก่อนที่เราจะทราบถึงช่องทางการต่อภาษีนั้น เราควรรู้จักการแบ่งประเภทของรถยนต์ในการขอจดทะเบียนตามกฎหมายที่กำหนดว่ามีอะไรบ้าง เมื่อเราเห็นประเภทดังกล่าวจะได้ไม่ชวนให้สงสัยค่ะ
ประเภทของรถยนต์ตามการจดทะเบียน
แบ่งเป็นดังต่อไปนี้
ลำดับ | ประเภทของรถตามการขอจดทะเบียน | ตัวย่อ |
1 | รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน | รย.1 |
2 | รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน | รย.2 |
3 | รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล | รย.3 |
4 | รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล | รย.4 |
5 | รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด | รย.5 |
6 | รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน | รย.6 |
7 | รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง | รย.7 |
8 | รถยนต์รับจ้างสามล้อ | รย.8 |
9 | รถยนต์บริการธุรกิจ | รย.9 |
10 | รถยนต์บริการทัศนาจร | รย.10 |
11 | รถยนต์บริการให้เช่า | รย.11 |
12 | รถจักรยานยนต์ | รย.12 |
13 | รถแทรกเตอร์ | รย.13 |
14 | รถบดถนน | รย.14 |
15 | รถใช้งานเกษตรกรรม | รย.15 |
16 | รถพ่วง | รย.16 |
17 | รถจักรยานยนต์สาธารณะ | รย.17 |
ช่องทางการต่อภาษีรถยนต์
มาถึงที่ช่องทางการเสียภาษีรถยนต์กันต่อเลยนะคะ น้องกันเองจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ 1.ช่องทางปกติออนไซต์ที่เราต้องเดินทางไป ณ จุด ๆ นั้น และ 2. ช่องทางออนไลน์ที่เราสามารถทำผ่านได้บนคอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถือ จะมีรายละเอียดยังไงกันบ้าง ไปดูกันค่ะ
1.การชำระผ่านช่องทางปกติ
จากการแบ่งประเภทของรถยนต์ในการขอจดทะเบียนตามกฎหมายที่กำหนด ซึ่งน้องกันเองได้รวบรวม ช่องทางการต่อภาษีของรถตามประเภทดังกล่าวที่นิยมใช้กัน มาให้ทั้งหมด 6 ช่องทางดังต่อไปนี้ค่ะ
ช่องทางการต่อภาษี |
รย.1 | รย.2 | รย.3 | รย.12 | รย.13 | รย.14 | รย.16 |
สำนักงานขนส่งใกล้บ้าน | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ไปรษณีย์ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
เลื่อนล้อต่อภาษี
(Drive Thru for Tax) |
✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |||
ธนาคาร ธ.ก.ส | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |||
เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
และหลักฐานหรือเอกสารที่ต้องนำไปใช้ยื่นต่อภาษี เป็นดังนี้ค่ะ
– ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ตัวจริง หรือสำเนา
– หลักฐานหรือเอกสารการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ยังไม่หมดอายุ
– กรณีรถติด LPG/CNG ต้องมีหนังสือรับรองการตรวจทดสอบรถ
หมายเหตุ : สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ (รย.12) ที่จดทะเบียน มาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถ จากสถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ.
2. การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ของกรมขนส่งทางบก
2.1 ต่อภาษีผ่านทางเว็บไซต์
1.เข้าสู่เว็บไซต์ : https://eservice.dlt.go.th
2.ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน (สำหรับสมาชิกใหม่)
3.Log-in เพื่อเข้าสู่ระบบ
4.คลิกยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ที่เมนู “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”
5.ต้องกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เพื่อลงทะเบียนรถ แล้วยื่นชำระภาษี
6.เลือกช่องทางในการชำระเงิน เพียง 1 ช่องทาง โดยมีช่องทางให้เลือกดังนี้
- ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก
- ชำระเงินโดยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต (สำหรับผู้ถือบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA , Master Card) โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้ให้บริการรับตัดบัตร
- ชำระเงินโดยการพิมพ์ใบแจ้งการชำระภาษี แล้วนำไปชำระเงิน ที่เคาน์เตอร์ , ตู้ ATM หรือ Mobile Banking ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
หมายเหตุ : เงื่อนไขการยื่นชำระภาษี แบบ eservice
– รถยนต์ประเภท รย.1, รย.2 และ รย.3 ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี และ รย.12 ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนครั้งแรก ต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนที่จะชำระภาษีรถยนต์ได้
– รถยนต์ที่มีการค้างชำระภาษีรถ เกิน 1 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อน
– ชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี
2.2 การต่อภาษีรถยนต์ผ่าน DLT VEHICLE TAX
1.ดาวน์โหลด App ให้เรียบร้อยแล้ว กดลงทะเบียน กรอกข้อมูล
2.รอรับรหัส OTP ที่ได้รับทาง Email
3.ตั้งรหัส PIN Code จำนวน 6 หลัก
4.เลือกรูปแบบชำระภาษี (ชำระภาษีรถตนเอง , ชำระภาษีแทนเจ้าของรถ)
5.กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ หรือ เลขทะเบียนนิติบุคคลของเจ้าของรถ
6.กรอกเลือกประเภทของรถที่จะจ่ายภาษี และบันทึกข้อมูลเลขทะเบียนรถ
7.ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนเลือกชำระเงิน
เป็นอย่างไรบ้างคะพี่ ๆ กับช่องทางการเสียภาษีรถ ที่น้องกันเองได้รวบรวมมาให้ น้องกันเองหวังว่าจะเป็นประโยชน์ และทางเลือกให้กับพี่ ๆ ได้นะคะ ซึ่งน้องกันเองขอเตือนไว้อีกหนึ่งอย่างนะคะ หากเกิดการไม่ต่อภาษีรถยนต์ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปีจะทำให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับ และเจ้าของรถจะต้องนำรถไปจดทะเบียนภาษีรถยนต์ใหม่อีกด้วยค่ะ รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมไปต่อภาษีกันนะคะ และนอกจากการเสียภาษีรถยนต์ ยังมีอีกหนึ่งค่าใช้จ่าย ที่ถือว่ามีไว้ให้อุ่นใจ ดีกว่ายามใช้ แต่ไม่มี นั้นคือ การทำประกันรถยนต์ค่ะ เพราะการขับขี่บนท้องถนน อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้ แต่ถ้าพี่ ๆ ยังไม่แน่ใจ หรือ เกิดข้อสงสัยในการเลือกประกัน ทักมาปรึกษาน้องกันเองได้ตลอดเลยนะคะ สุดท้ายนี้ถ้าคิดถึงประกันภัย อย่าลืมคิดถึง PROPRAKAN นะคะ
#โปรประกัน #proprakan #คัดมาแล้วว่าคุ้ม #ประกันรถยนต์ #ภาษีรถยนต์
ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบก