แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า LFP กับ NMC ต่างกันอย่างไร

แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า LFP กับ NMC ต่างกันอย่างไร

หากเราลองดูข้อมูลทางเทคนิคในรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละครั้งจะพบได้ว่าแบตเตอรี่ของรถคันนี้ใช้แบต LFP หรือบางคันก็เป็น NMC เช่นรถยนต์ของ Tesla จะมีแบตเตอรี่ทั้ง 2 แบบ ซึ่งเวลาที่เราซื้อรถเราอาจจะไม่สามารถเลือกได้ว่าจะแบตเตอรี่แบบไหน แต่อย่างน้อยถ้าเรารู้ว่าแต่ละแบบเหมาะกับการใ๐ช้งานแบบใด จะช่วยให้คุณวางแผนในการถนอมแบตเตอรี่ได้ดียิ่งขึ้นครับ 

LFP (Lithium Iron Phosphate) ลิเธียม-ไอออน ฟอสเฟต 

แบตเตอรี่ LFP ใช้ฟอสเฟตเป็นวัสดุแคโทด จุดเด่นที่สำคัญของ LFP คืออายุการใช้งานที่ยาวนาน ผู้ผลิตหลายรายก็ใช้แบตเตอรี่แบบ LFP ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า  

  • จุดเด่น:
  • มีความเสถียรและแข็งแรง
  • ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ดี
  • ราคาถูกกว่า
  • อายุการใช้งานยาวนานกว่า
  • ชาร์จได้ 100% ทุกวัน
  • ทนความร้อนได้ดีกว่า
  • จุดด้อย:
  • ความจุพลังงานต่ำกว่า
  • แบตเตอรี่ลดเร็วเมื่อใกล้หมด (แบตวูบ)
  • น้ำหนักมากกว่า NMC

 

NMC (Nickel Manganese Cobalt) นิกเกิลแมงกานีส-โคบอลท์-ออกไซต์ 

แบตเตอรี่ NMC ประกอบด้วย นิกเกิล แมงกานีส และ โคบอลต์ อย่างละ 33% ที่ขั้วแคโทด บางครั้งเรียกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมแมงกานีสโคบอลต์ออกไซด์ 

  • จุดเด่น:
  • ความหนาแน่นของพลังงานสูง 
  • น้ำหนักเบา 
  • ชาร์จไฟเร็วขึ้นในสภาพอากาศหนาวเย็น 
  • จุดด้อย:
  • อายุการใช้งานสั้นกว่า LFP
  • แนะนำให้ชาร์จ 80-90% เพื่อยืดอายุการใช้งาน
  • อัตราการลดของแบตเตอรี่เมื่อใกล้หมดไม่เร็วเหมือน LFP

 

รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ผลิตในล็อต 2023 จะใช้แบตเตอรี่ LFP เกือบทั้งหมดแล้ว เนื่องจากภูมิอากาศในประเทศไทยอาจไม่เหมาะกับการใช้แบตเตอรี่ NMC ซักเท่าไหร่ แบตเตอรี่ LFP บางค่ายอาจจะดันแปลงเป็นแบตเฉพาะของตัวเองเช่น BYD ใช้แบต BYD Blade Battery หรือของ GAC ที่ใช้ Magazine Battery  ซึ่งเป็นการดัดแปลงจาก LFP เพื่อเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีแบตเตอรี่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราอาจจะได้เห็นแบตเตอรี่ที่สามารถเก็บไฟได้เยอะขึ้น เบาขึ้นและปลอดภัยขึ้นในอนาคตอีกแน่นอน